การทักท้วงอย่างสันติในวันที่ 25 เมษายน 1999

การทักท้วงอย่างสันติในวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542)

ความเป็นมา :  เมื่อวันที่ 23 และ 24 เมษายน ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) เจ้าหน้าที่ตำรวจในเมืองเทียนจินซึ่งอยู่ใกล้กรุงปักกิ่งทำร้ายร่างกายและจับกุมผู้ฝึกฝ่าหลุนกงหลายสิบคน ซึ่งรวมตัวกันอยู่ด้านนอกของสำนักงานของนิตยสารแห่งหนึ่ง เพื่อหารือเกี่ยวกับความคลาดเคลื่อนของบทความโจมตีฝ่าหลุนกงซึ่งตีพิมพ์ออกมาเมื่อเร็ว ๆ นี้  เมื่อข่าวการจับกุมแพร่กระจายออกไปและมีผู้ฝึกฝ่าหลุนกงสอบถามเจ้าหน้าที่มากขึ้น ผู้ฝึกก็ได้คำตอบว่าพวกเขาต้องไปอุทธรณ์ที่กรุงปักกิ่ง ในวันถัดมา (25 เมษายน) ผู้ฝึกฝ่าหลุนกงประมาณ 10,000 คน ต่างไปรวมตัวกันโดยไม่ได้นัดหมายที่สำนักงานอุทธรณ์กลางในกรุงปักกิ่งตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่เมืองเทียนจิน การรวมตัวเป็นไปอย่างสงบและมีระเบียบเรียบร้อย  ตัวแทนของฝ่าหลุนกงหลายคนถูกเรียกเข้าพบนายกรัฐมนตรีจีน จู หรงจี และสมาชิกคณะทำงานของเขา เย็นวันนั้นข้อกังวลของผู้ฝึกฝ่าหลุนกงได้รับการจัดการเรียบร้อย ผู้ฝึกที่ถูกจับในเมืองเทียนจินได้รับการปล่อยตัวและทุกคนได้กลับบ้าน

ปัญหา : ตามแหล่งข่าวภายในรัฐบาลจีนหลายแหล่ง ในช่วงหลายเดือนหลังจากการรวมตัวกันในวันที่ 25 เมษายน การต่อสู้ทางการเมืองอย่างดุเดือดก็เกิดตามมาทันทีภายในกลุ่มเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน  หลังจากนั้นหัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์จีน นายเจียง เจ๋อหมิน ก็สั่งการให้รัฐบาล "ทำลาย" ฝ่าหลุนกง ขณะที่สมาชิกคนอื่น ๆ ของคณะกรรมการบริหารสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์ไม่เห็นว่าการฝึกของฝ่าหลุนกงเป็นภัยคุกคาม  นายวิลลี่ แลม ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์อาวุโสของ CNN อ้างคำพูดของเจ้าหน้าที่อาวุโสว่า การปราบปรามฝ่าหลุนกงกลายเป็นเรื่องส่วนตัวของเจียงเจ๋อหมินจริง ๆ  ในเดือนกรกฎาคม นายเจียงออกคำสั่งอย่างเป็นทางการให้ปราบปรามฝ่าหลุนกง  มีการให้คำอธิบายลักษณะการรวมตัวกันในวันที่ 25 เมษายน ใหม่อย่างรวดเร็วว่าไม่ใช่การอุทธรณ์อย่างสันติ  ที่จริงแล้วการรวมตัวกันเกิดจากการประสานงานของเจ้าหน้าที่เมืองเทียนจินและกรุงปักกิ่งเองที่บอกผู้ฝึกให้ไปสำนักงานอุทธรณ์ที่กรุงปักกิ่ง  แต่กลับกลายเป็น "วางการโอบล้อม" ทำเนียบรัฐบาลกลาง และเป็น " หลักฐาน " ที่ชัดเจนว่าฝ่าหลุนกงเป็นภัยคุกคาม

ทำไมจึงสำคัญ : การใช้คำผิด ๆ ว่าการรวมตัวกันในวันที่ 25 เมษายน เป็น "การโอบล้อม" ทำเนียบรัฐบาลกลาง  ทำให้ฝ่าหลุนกงถูกมองว่าเกี่ยวข้องกับการเมืองทั้งในประเทศจีนและต่างประเทศ ดังนั้นแทนที่จะมองว่าการประทุษร้ายของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นการปราบปรามชนกลุ่มน้อยทางศาสนาอย่างรุนแรง  กลับเริ่มมีคำเล่าว่าฝ่าหลุนกงและพรรคคอมมิวนิสต์จีนกำลังแย่งชิงอำนาจกัน ยิ่งกว่านั้น ผู้ที่เฝ้าดูประเทศจีนในฝั่งตะวันตกบางคนก็เชื่อว่าฝ่าหลุนกงนำการประทุษร้ายมาใส่ตัวเอง ด้วยการ "ท้าทาย" รัฐบาลเมื่อวันที่ 25 เมษายน  เรื่องเล่านี้ทำให้ผู้ที่ต้องการสนับสนุนสิทธิมนุษยชนและศาสนาจำนวนมากลดความกระตือรือร้นลง และยังคงเป็นปัจจัยหลักปัจจัยเดียวของกระแสตำหนิเหยื่อที่ห้อมล้อมการสืบสวนและรายงานการประทุษร้ายฝ่าหลุนกงอย่างกว้างขวางมากขึ้น

 

http://en.minghui.org/cc/86/