สารจากบรรณาธิการ : ทั้งในวัฒนธรรมตะวันตกและวัฒนธรรมจีนมีหลักการของกรรมตามสนองนั่นคือการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าท้ายที่สุดทุกคนต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเอง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว บทความนี้ใช้เตือนใจผู้กระทำผิดว่าแนวคิด “ทำชั่วได้ชั่ว” คงอยู่ยืนยงและหยั่งรากเหง้าลึกลงไปในช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์

จักรพรรดิถังอู่จงแห่งราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 814 - 846) เสียชื่อเสียงในเรื่องเป็นปรปักษ์กับพุทธศาสนา

ในการรณรงค์ครั้งใหญ่ที่สุดเพื่อกำจัดพุทธศาสนาแบบขุดรากถอนโคนในประวัติศาสตร์จีน พระองค์ทำลายวัดในพุทธศาสนาและบังคับให้พระภิกษุและแม่ชีในพุทธศาสนาลาสิกขากลับสู่โลกฆราวาส พระพุทธรูปถูกนำมาหล่อเป็นเหรียญหรืออุปกรณ์การเกษตร ไม่มีใครได้รับอนุญาตให้เก็บพระพุทธรูปไว้ที่บ้าน – หากพบพระพุทธรูป ครอบครัวนั้นจะถูกลงโทษ นอกจากนี้จักรพรรดิยังออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อทำลายชื่อเสียงของพุทธศาสนาด้วย

ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ ระหว่างปีที่ 5 ของการครองราชย์ “วัดและอารามมากกว่า 4,600 แห่งถูกทุบทิ้ง พระภิกษุและแม่ชีในศาสนาพุทธ 260,500 รูปถูกบังคับให้ละทิ้งความเชื่อของตน และที่พำนักและอาศรมมากกว่า 40,000 แห่งถูกทำลาย”

เพียง 1 ปีหลังจากเริ่มประทุษร้ายพุทธศาสนาครั้งใหญ่ จักรพรรดิหนุ่มก็สิ้นพระชนม์ขณะมีอายุ 33 ปี พระองค์มีโอรส 5 องค์ แต่ไม่มีใครได้รับเลือกให้สืบราชบัลลังก์ต่อเลย ลุงของพระองค์ หลี่เฉิน กลับเป็นผู้ที่ได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์ต่อไป เนื่องจากอู่จงสูญเสียการสนับสนุนจากข้าราชสำนักอันเป็นผลจากการประทุษร้ายพุทธศาสนา จึงไม่มีใครคัดค้านอย่างจริงจัง

ในฐานะจักรพรรดิองค์ใหม่แห่งราชวงศ์ถัง หลี่เฉินประกาศนิรโทษกรรมแบบกว้าง ๆ ไม่เจาะจง และฟื้นฟูพุทธศาสนาในประเทศจีน พระองค์ทรงได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก