(Minghui.org) ผู้ฝึกในพื้นที่ของเราได้แก้ไขคำประพันธ์ในช่วงต้นของการฟาเจิ้งเนียนมาหลายปีแล้ว เวอร์ชันที่อัปเดตมักส่งกันทางอีเมลหรือถ่ายทอดด้วยคำพูดในกลุ่มศึกษาฝ่าหรือบอกกันแบบตัวต่อตัว นี่เกิดขึ้นปีละหลายครั้ง และข้อความดังกล่าวถูกส่งไปยังผู้ฝึกทั้งในเมืองและในหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกล การเปลี่ยนคำประพันธ์ในช่วงต้นของการฟาเจิ้งเนี่ยนกลายเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ฝึกบางคนไปแล้ว

ผู้ฝึกเหล่านี้ รวมทั้งผู้ประสานงาน ขาดความเข้าใจฝ่าอย่างลึกซึ้ง และก่อเกิดความคิดของมนุษย์ขึ้นมา พวกเขาคิดว่านี่คือวิธี “ฟาเจิ้งเนี่ยน” เมื่อใดก็ตามที่พวกเขาพบกับความทุกข์ยาก พวกเขาจะขอให้ผู้ฝึกที่รู้วิธีแก้ไขคำประพันธ์ดังกล่าวทำเวอร์ชันที่พุ่งเป้าไปที่สถานการณ์ของพวกเขา แล้วพวกเขาก็ฟาเจิ้งเนี่ยน โดยใช้เวอร์ชันแก้ไขนี้แทนเวอร์ชันที่ถูกกำหนดโดยฝ่า

อาจารย์ (อาจารย์หลี่หงจื้อ ผู้ก่อตั้งฝ่าหลุนต้าฝ่า) กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าสอนกงคือก้าวเดียวถึงตำแหน่ง จุดประสงค์คือกลัวผู้ฝึกแก้ไขดัดแปลง กลไกบังคับ (จีจื้อ) เมื่อก่อเกิดแล้วไม่สามารถเปลี่ยนแปลง ดูเหมือนไม่ใช่เรื่องใหญ่ แท้จริงแล้วคือการเริ่มบ่อนทำลายฝ่าอย่างร้ายแรง (“จินกัง (วชิระ)” จิงจิ้นเหย้าจื่อ)

เมื่อเราเปลี่ยนเนื้อหาของคำประพันธ์ในช่วงต้นของการฟาเจิ้งเนี่ยน เรากำลังเปลี่ยนแปลงฝ่า ถ้าการกระทำของผู้ฝึกคนหนึ่ง ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของฝ่า มันจะกระทบเฉพาะคนคนนั้น แต่ถ้าผู้ฝึกกลุ่มหนึ่งไม่ปฏิบัติตามหลักการของฝ่า พฤติกรรมของพวกเขาก็ส่งผลกระทบต่อผู้ฝึกทั้งพื้นที่ได้

ฉันขอแนะนำให้ผู้ที่แก้ไขและเผยแพร่คำประพันธ์เหล่านี้บอกผู้ฝึกให้ท่องคำประพันธ์ที่สอดคล้องกับฝ่า นี่ทำได้โดยการส่งทางอีเมลหรือถ่ายทอดแบบตัวต่อตัว ฉันหวังว่าทุกคนสามารถเดินบนเส้นทางได้อย่างถูกต้อง เพราะการบำเพ็ญเป็นเรื่องที่เข้มงวด

เราควรปฏิบัติตามคำสอนของท่านอาจารย์ เราเพิ่มความคิดบางอย่างได้ภายใต้สถานการณ์พิเศษ แต่ไม่ใช่ทุกครั้งที่เราฟาเจิ้งเนี่ยน ที่จริงแม้เราจะไม่ได้เพิ่มความคิดเข้าไป กงของเราก็รู้ว่าต้องทำอะไร อาจารย์กล่าวว่า :

“ไม่มีอะไรไม่ครอบคลุม ไม่มีอะไรตกหล่น” (“ลุ่นอวี่” จิงจิ้นเหย้าจื่อ)

แม้กระนั้นเรายังเปลี่ยนคำพูดของอาจารย์เป็น “ฉันต้องการพุ่งเป้าไปที่นี่หรือที่นั่นเท่านั้น ฉันไม่ต้องการส่วนที่เหลือ” ฉันขออุปมา – อาจารย์ให้จักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลแก่เรา แต่เราเลือกที่จะเข้าไปในกล่องเล็ก ๆ และยึดมันไว้ เราไม่ใช่กำลังลงไปทางเบี่ยงหรือ ผู้ฝึกบางคนถึงกับพันกันยุ่งระหว่าง “ความหมายข้างใน” กับ “เนื้อหา” ของคำประพันธ์ดังกล่าว พวกเขาเพ่งความสนใจกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ และไม่เห็นความสำคัญของภาพใหญ่

บทความนี้แสดงความเข้าใจของผู้เขียนในสภาวะการบำเพ็ญในปัจจุบันของเขา ซึ่งตั้งใจสำหรับแลกเปลี่ยนในหมู่ผู้ฝึกเพื่อให้เราสามารถ “ศึกษาและบําเพ็ญ เปรียบเทียบซึ่งกันและกัน”(“บำเพ็ญจริงจัง” หงอิ๋น)

บทความ กราฟิก และเนื้อหาทั้งหมดที่เผยแพร่บน Minghui.org มีลิขสิทธิ์ อนุญาตให้ทำสำเนาที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ได้ แต่ต้องระบุแหล่งที่มาพร้อมชื่อบทความและลิงก์ไปยังบทความต้นฉบับ