(Minghui.org) ตั้งแต่ท่านอาจารย์เผยแพร่จิงเหวินใหม่ 2 บทความ “ทำไมจึงมีมนุษยชาติ” (20 มกราคม) และ “ทำไมต้องช่วยเหลือสรรพชีวิต” (17 เมษายน) กองบรรณาธิการหมิงฮุ่ยได้รับจดหมายจากผู้ฝึกในประเทศจีนทุกวัน ส่วนใหญ่แบ่งได้เป็น 3 ประเภท 1) สามารถเผยแพร่จิงเหวินทั้งสองอย่างกว้างขวางได้หรือไม่ (มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างต่อเนื่องในเรื่องนี้) 2) ผู้ฝึกบางคนแจกจ่ายจิงเหวินไปในวงกว้างโดยไม่ระมัดระวังและไม่คำนึงถึงวิธีการรับ 3) การพูดคุยต่อหน้า การให้ต่อหน้า ช้าเกินไป

ความระมัดระวังในการแจกจ่ายจิงเหวินของท่านอาจารย์เป็นการกระทำที่มีเมตตาและมีเหตุผลของผู้บำเพ็ญ แต่คำถามนั้นไม่ใช่แค่ง่าย ๆ ว่าเราจะสามารถแจกจ่ายได้หรือไม่ แต่ท่านอาจารย์ได้จัดวางไว้แล้ว และขึ้นอยู่กับเราว่าจะสามารถเข้าใจ (อู้) และยอมรับได้หรือไม่

ในฐานะผู้ฝึกเก่า เราทุกคนทราบว่าท่านอาจารย์เผยแพร่จิงเหวินใหม่ด้วยเหตุผลที่เฉพาะเจาะจง โดยเจาะจงมุ่งเป้าไปที่ปัญหาในการบำเพ็ญของผู้ฝึกซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขหรือปัญหาที่มีผลกระทบในระดับหนึ่ง จิงเหวินทั้งสองที่กล่าวถึงข้างต้นเขียนขึ้นเพื่อชาวโลก ดังนั้นจิงเหวินทั้งสองจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือชาวโลกและเป็นความจำเป็นของขั้นตอนการเจิ้งฝ่าเปลี่ยนผ่านสู่ฝ่าปรับโลกมนุษย์ของเวลานี้

การแจกจ่ายจิงเหวินทั้งสองนอกประเทศจีนมีเพียงส่วนน้อยที่เป็นสิ่งพิมพ์ นอกนั้นล้วนให้ผู้มีวาสนามาอ่าน ดู ฟัง บนเว็บไซต์ที่เฉพาะเจาะจงด้วยตัวเอง ผู้ฝึกในประเทศจีนที่ต้องการแจกจ่ายจิงเหวินให้กับคนทั่วไปจำเป็นต้องใช้วิจารณญาณของตัวเองในการแจกจ่ายจิงเหวินอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และสภาพแวดล้อมในท้องที่ของตัวเอง

เมื่อเราช่วยเหลือผู้คน เราควรมุ่งเน้นที่ประสิทธิผลโดยถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ไม่ใช่ตามความชอบของเราเอง ไม่ว่าเราจะได้แจกจ่ายอะไรหรือไม่ หรือเราแจกจ่ายจิงเหวินเหล่านี้ได้มากเท่าใด สามารถถามตัวเอง 2 - 3 คำถาม เช่น ถ้าแจกจ่ายทั่วไปหมด จำนวนที่แจกจ่ายอาจจะไม่น้อย แต่กลับมีคนอ่านน้อยมาก กระทั่งคนส่วนใหญ่ที่จริงก็ไม่เห็น ไม่รู้เนื้อหา ก็เลยทิ้งเอกสารตามอำเภอใจ เช่นนั้นคือกำลังช่วยเหลือคนหรือสร้างกรรม ถ้าไม่แจกจ่าย คนจีนในแผ่นดินใหญ่จะมีโอกาสรู้จักความจริงของต้าฝ่าในด้านบวกน้อยลงหรือไม่ ถ้าคุยต่อหน้า แจกจ่ายต่อหน้า ตัวเองรู้สึกว่าช้าเกินไป ในใจก็ไม่พอใจ จิตใจเช่นนั้นชอบด้วยเหตุผลจริงหรือ และเพื่อผู้อื่นจริงหรือ

เราทุกคนรู้ว่า "การบำเพ็ญอยู่ที่ตัวเอง กงอยู่ที่อาจารย์" (บทที่ 4 จ้วนฝ่าหลุน) การเรียนรู้ว่าการบำเพ็ญคืออะไรและบำเพ็ญอย่างไรเป็นหัวข้อที่จำเป็นต้องประสบในระยะยาว เพราะด้านที่บำเพ็ญสำเร็จถูกแยกออกไปแล้ว ด้านของมนุษย์ที่เหลืออยู่ยังคงเป็นมนุษย์ บำเพ็ญไม่เป็น ดังนั้นพวกเราจำเป็นต้องศึกษาฝ่าและหลอมรวมเข้ากับฝ่าอย่างต่อเนื่อง ในปัญหาของแจกจ่ายจิงเหวินของท่านอาจารย์ ผู้ฝึกในประเทศจีนไม่เพียงต้องทำตามการจัดวางของท่านอาจารย์เท่านั้น แต่ยังควรยกระดับซินซิ่งและจิตรับรู้ของพวกเขา (ไม่ใช่ผ่านการเดาหรือสันนิษฐาน) ด้วยสติปัญญาและคำแนะนำที่ได้รับจากฝ่า เมื่อเราสงบจิตใจและค้นหาคำตอบจากฝ่า เราจึงจะสามารถรับรู้ธรรมะได้ทีละน้อย

พวกเราส่วนใหญ่แม้ยังคงศึกษาฝ่าอย่างต่อเนื่องและศึกษาฝ่าอย่างมาก แต่ไม่ได้ใช้ความพยายามในการยกระดับซินซิ่งอย่างแท้จริง แต่การบำเพ็ญในต้าฝ่าเน้นที่การบำเพ็ญจิต มุ่งตรงที่จิตใจคนโดยตรง มีเพียงยกระดับซินซิ่งของตัวเองอย่างต่อเนื่องโดยเปรียบเทียบตัวเรากับมาตรฐานของต้าฝ่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในความขัดแย้งและความยากลำบาก หรือเมื่อไม่สบายใจ ถ้าสามารถเปรียบเทียบกับต้าฝ่าด้วยใจสงบ ค้นหาความบกพร่องของซินซิ่งตัวเองและอุปสรรคทางทัศนคติ ซินซิ่งก็จะยกระดับสูงขึ้น เมื่อรู้วิธีบำเพ็ญและยกระดับซินซิ่งอยู่เสมอ ก็จะไม่สับสนในเรื่องต่าง ๆ หรือบ่อยครั้งไม่รู้จะทำอย่างไร หรือทำตามคนอื่นโดยไม่ศึกษาฝ่า ตัวเองก็จะไม่เกิดการลำพองใจหรือมีปัญหามารเกิดจากใจตัวเอง เดินสู่ด้านตรงข้าม

ฝอเสวียฮุ่ยในต่างประเทศจำเป็นต้องรับผิดชอบและนำพาผู้ฝึกให้บำเพ็ญให้ดี การประทุษร้ายของคอมมิวนิสต์จีนยังคงมีอยู่ ผู้ฝึกที่นั่นไม่มีฝอเสวียฮุ่ยหรือผู้ประสานงานทั่วไปที่ได้รับการแต่งตั้งจากท่านอาจารย์ แต่กลุ่มศึกษาฝ่าและกลุ่มโครงการที่ผู้ฝึกจัดตั้งขึ้นเองในจีนแผ่นดินใหญ่ก็เป็นสภาพแวดล้อมสำหรับการบำเพ็ญร่วมกัน ก็สามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการให้ความสำคัญกับการศึกษาฝ่า ให้ความสำคัญกับการบำเพ็ญจิต การช่วยเหลือคนทำได้ถึงระดับใดส่วนใหญ่สะท้อนสภาพการบำเพ็ญของพวกเรา

กองบรรณาธิการหมิงฮุ่ย

3 กรกฎาคม 2023