(Minghui.org) ในฐานะศิษย์ฝ่าหลุนต้าฝ่า เราจำเป็นต้องบรรลุคำปฏิญาณแห่งประวัติศาสตร์ในช่วงเจิ้งฝ่าด้วยการทำสามสิ่งให้ดี

ในการจัดการกับโลกในชีวิตประจำวัน เราต้องอดทน ใส่ใจ โอบอ้อมอารี ถ่อมตัว ฉลาด และมีความเห็นอกเห็นใจสรรพชีวิตในขณะที่เราอธิบายความจริงและยืนยันความถูกต้องของต้าฝ่า

ขณะจัดการกับความขัดแย้งกับคนธรรมดา เราต้องคิดถึงสถานการณ์จากมุมมองของพวกเขา และเตือนตัวเองอยู่เสมอด้วยคำพูดของท่านอาจารย์ที่ว่า “ที่ถูกคือเขา ที่ผิดคือฉัน ถกเถียงอะไร” (“ใครถูก ใครผิด” หงอิ๋น 3) เราควรบำเพ็ญจิตใจและความคิดของเรา ค้นหาจากภายใน และโอบอ้อมอารีกับผู้อื่นอยู่เสมอ

เมื่อพูดถึงสิ่งมีชีวิตชั่วร้ายและปัจจัยในมิติอื่น ๆ เราต้องมีความคิดถูกต้องและมีความมั่นใจตลอดจนมีแรงผลักดันที่ท่วมท้นเพื่อทำลายสมุนมืดที่ชั่วร้าย ปีศาจเน่าเปื่อย และวิญญาณชั่วร้ายคอมมิวนิสต์ทั้งหมด พร้อมทั้งกำจัดสิ่งมีชีวิตและปัจจัยที่ชั่วร้ายทั้งหมดที่บ่อนทำลายต้าฝ่า

สำหรับผู้ที่ทำความชั่วโดยไม่ยับยั้งชั่งใจ เราต้องอธิบายหลักการของ “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” บางครั้งเราจำเป็นต้องใช้ความคิดถูกต้องและพลังเหนือธรรมชาติเพื่อหยุดการกระทำที่ชั่วร้ายของพวกเขา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเมตตาและความยิ่งใหญ่ของต้าฝ่า และเราต้องมีจิตใจดีเช่นกันเพราะเราใส่ใจในความดีของผู้อื่นอย่างแท้จริง

ด้วยการเสริมพลังของท่านอาจารย์ ในอีกมิติหนึ่งเรามีความสามารถและพลังมหาศาลในการกำจัดความชั่วร้ายและไม่มีใครหยุดได้ เรารับผิดชอบต่อสรรพชีวิตในจักรวาล และนั่นคือสิ่งที่ต้าฝ่าและท่านอาจารย์ต้องการ

สำหรับต้าฝ่า เรามีได้เพียงความอ่อนน้อม ความกตัญญู และความชื่นชมอย่างไม่สิ้นสุด ต้าฝ่าสร้างทุกสิ่งทุกอย่าง และเราเป็นเพียงอนุภาคหนึ่งของต้าฝ่า เราถูกสร้างและเติมเต็มโดยท่านอาจารย์

ไม่ว่าเราจะทำโครงการอะไรเพื่อยืนยันความถูกต้องของต้าฝ่า และเราจะทำมากเพียงไรเพื่อช่วยเหลือผู้คน เบื้องหลังทั้งหมดนี้คือพรและการเสริมกำลังจากท่านอาจารย์ โดยการทำสิ่งที่เราทำ เราก็กำลังดำเนินชีวิตตามธรรมานุภาพของเราและช่วยเหลือโลกและสรรพชีวิตทั้งหมดของเรา

สิ่งเดียวที่เราทำเพื่อท่านอาจารย์ได้คือการสำนึกในบุญคุณและรู้ว่าเราเป็นหนี้บุญคุณของท่าน แต่เราจะไม่มีวันชดใช้ท่านได้ วิธีเดียวที่จะดำเนินชีวิตให้คู่ควรกับความช่วยเหลือด้วยความเมตตาของท่านอาจารย์คือการศึกษาคำสอนของต้าฝ่าให้ดี บำเพ็ญตนเอง และช่วยเหลือผู้คนให้มากขึ้น นี่คือการให้คุณค่ากับตัวเองและรับผิดชอบต่อสรรพชีวิตในโลกของเราเอง

หมายเหตุจากบรรณาธิการ : บทความนี้แสดงความเข้าใจตามสภาวะการบำเพ็ญในปัจจุบันของผู้เขียน มีจุดมุ่งหมายสำหรับแลกเปลี่ยนในหมู่ผู้ฝึกเพื่อให้เราสามารถ “ศึกษาและบําเพ็ญ เปรียบเทียบซึ่งกันและกัน” (“บำเพ็ญจริงจัง” หงอิ๋น)