(Minghui.org) หลังจากเผยแพร่บทความ “ทำไมจึงมีมนุษยชาติ” และ “ทำไมต้องช่วยเหลือสรรพชีวิต” อาจารย์หลี่ หงจื้อ ผู้ก่อตั้งฝ่าหลุนต้าฝ่า ได้เผยแพร่อีกบทความหนึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้คือ “ทำไมมนุษยชาติเป็นสังคมแห่งวังวน”
หลายคนบอกว่าพวกเขาได้รับแรงบันดาลใจและมีความเข้าใจใหม่หลังจากอ่านบทความเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเขามีความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับความหมายของการมีเมตตาและการดูแลซึ่งกันและกัน
ครูชาวไต้หวันแนะนำบทความนี้
หลี่ อ้ายเหม่ย ครูสอนภาษาจีนจากไต้หวัน ได้ยินเกี่ยวกับบทความนี้จากนักเรียนของเธอ ครั้งแรกที่เธออ่าน เธอไม่ค่อยเข้าใจนัก “ฉันบอกตัวเองว่า ฉันขาดสติปัญญา ฉันจึงไม่เข้าใจความหมายที่ลึกซึ้งเบื้องหลังบทความนี้” เธอพูด
หลังจากอ่านบทความนี้ซ้ำ ๆ หลี่บอกว่าแนวคิดที่ว่าจักรวาลผ่านขั้นตอนของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมถอย และดับสูญนั้นสอดคล้องกับเธอ “ด้วยภาวะโลกร้อนและสงครามที่ไม่หยุดหย่อน นี่แสดงให้เห็นว่าเราอยู่ในช่วงสุดท้ายแล้วจริง ๆ คือช่วง 'ดับสูญ' สิ่งที่ท่านอาจารย์หลี่พูดเป็นความจริง” เธอพูด
ในบทความนี้ ท่านอาจารย์อธิบายว่ามนุษยชาติอาศัยอยู่ในโลกโดยไม่สามารถรับรู้ความจริงทั้งหมดของจักรวาล คนทำได้เพียงบำเพ็ญตนเองและรักษาความเมตตาท่ามกลางความหลง “สิ่งนี้สอนให้ฉันเผชิญกับความท้าทายอย่างสงบและไม่พร่ำบ่นกับชีวิต” เธออธิบาย
หลี่ยังเชื่อว่าการได้อ่านบทความนี้สามารถส่งผลดีต่อสังคมได้ เธอพูดว่า “ฉันคิดว่าถ้าทุกคนสามารถรักษาความคิดที่มีความเมตตาไว้ได้ ก็จะช่วยลดความทุกข์ในสังคมได้อย่างมาก ความเมตตากรุณาคือการเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น หากมีคนคิดแบบนี้มากขึ้น ความเห็นแก่ตัวก็จะน้อยลง และนี่คือสิ่งที่โลกนี้ต้องการอย่างแท้จริง”
หลี่บอกว่าตอนนี้เธออ่านบทความนี้ไปแล้วหลายครั้ง ทุกครั้งที่อ่านใหม่ แต่ละส่วนดูน่าสนใจยิ่งขึ้นและควรค่าแก่การไตร่ตรองอย่างลึกซึ้ง “ทุกครั้งที่อ่านบทความ ฉันตระหนักว่ามุมมองของฉันเกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ยังไม่สมบูรณ์ ฉันต้องประมาณตนเพื่อที่ฉันจะได้เข้าใจมุมมองที่แตกต่างออกไป” เธอพูด “แม้ว่าเราจะอยู่ในโลกแห่งความไม่รู้ ฉันคิดว่าเราก็ยังต้องเปิดใจให้กว้างเพื่อจะได้เข้าใกล้ความจริงมากขึ้น
“ฉันขอแนะนำบทความนี้ให้กับผู้ที่รู้สึกหลงทางในชีวิต ฉันหวังว่าเมื่อเผชิญกับความยากลำบาก พวกเขาจะสามารถคงไว้ซึ่งความคิดที่เมตตากรุณาและเผชิญกับความท้าทายด้วยความกล้าหาญยิ่งขึ้น” เธอพูดเสริม
หญิงสาวจากสวิตเซอร์แลนด์ : “บทความนี้ช่วยเปิดความคิดของฉัน”
ซาราห์เป็นหญิงสาวในวัย 20 ปีเศษ ที่อาศัยอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ เธอได้รับบทความนี้จากเพื่อนคนหนึ่งที่ฝึกฝ่าหลุนต้าฝ่า เธออ่านบทความนี้ 2 รอบ และรู้สึกว่าเธอต้องอ่านอีกหลาย ๆ รอบ
“บทความนี้เปิดความคิดของฉัน และให้โอกาสฉันคิดเกี่ยวกับบางอย่างในชีวิตของฉัน ตัวอย่างเช่น สิ่งที่อาจอยู่เบื้องหลังชีวิต สิ่งที่อยู่เบื้องหลังสามภพ ทำไมเราจึงอยู่ที่สามภพนี้ และทำไมเราจึงต้องทนทุกข์” เธอพูด “มันค่อนข้างเป็นปรัชญา โดยปกติฉันไม่คิดเรื่องแบบนี้ ดังนั้นบทความนี้จึงเปิดใจของฉัน”
ซาราห์อธิบายว่าบทความนี้ช่วยให้เธอได้รับมุมมองใหม่ ๆ เกี่ยวกับความหมายของชีวิต เธอยังค้นพบคำบางคำและหลักการบางอย่างที่ใหม่สำหรับเธอด้วย เธอพูดว่า “[บทความนี้] น่าสนใจมาก และช่วยให้ [ฉัน] คิดเกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องกรรม ชีวิต ความทุกข์ ความเมตตากรุณา ว่าคือทางออกและคือ ‘การให้อภัย’” “ความจริงที่ว่าเรามีชาติหน้าหลังจากชีวิตนี้ก็น่าสนใจ ฉันเรียกมันว่าการมี 'วิญญาณ' เพราะฉันไม่ทราบว่าจะมีคำอื่นที่ตรงกว่านี้ไหม”
ซาราห์ยังค้นพบแนวคิดของ "สามภพ" ด้วย เธอพูดว่า "ตามที่ฉันเข้าใจ สามภพถูกสร้างขึ้นสำหรับมนุษยชาติเพื่อกำจัดกรรมจากบาปของพวกเขาด้วยการทนทุกข์" บทความนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ซาราห์สนใจการบำเพ็ญมากขึ้น “เป้าหมายในชีวิตของฉันคือการเป็นคนเมตตากรุณาและใจดีกับผู้อื่นอยู่เสมอ ฉันควรบำเพ็ญตัวเองเพื่อการเปลี่ยนแปลง” เธอพูด
เพื่อให้เข้าใจบทความใหม่ของท่านอาจารย์หลี่ดียิ่งขึ้น เธอเชื่อว่าเราควรอ่านหนังสือเล่มหลักของฝ่าหลุนต้าฝ่าคือจ้วนฝ่าหลุน “ฉันรู้สึกว่า เพื่อจะเข้าใจฝ่าอย่างเต็มที่หรือเพื่อแปลความหมายของฝ่าได้ทุกกรณี ฉันควรอ่านให้มากขึ้นโดยเริ่มจากการอ่านจ้วนฝ่าหลุนอย่างละเอียด” เธออธิบาย
“ฉันเศร้าใจที่ฝ่าหลุนต้าฝ่าถูกห้ามในประเทศจีน” ซาราห์พูด “ฉันคิดว่าการฝึกนี้ทำให้โลกดีขึ้น ผู้ฝึกเป็นคนดีและพวกเขาเสียสละเพื่อผู้อื่น”
นักเศรษฐศาสตร์ชาวบัลแกเรีย : “ช่วงเวลาของการตื่นรู้ของมวลชนกำลังจะมาถึง”
รอสซี วูโรวา เป็นนักเศรษฐศาสตร์วัย 33 ปีในบัลแกเรีย เธอได้รับบทความจากเพื่อนที่ฝึกฝ่าหลุนต้าฝ่า “ฉันกับเพื่อนคนนี้มีมุมมองที่คล้ายกันเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวเรา เช่น เรื่องของจักรวาลที่มองไม่เห็นและรับรู้ไม่ได้” เธอพูด
เมื่ออ่านบทความ วูโรวารู้สึกว่ามีแรงกระตุ้นภายในให้ค้นหาความจริง “ฉันสนใจเรื่องนี้มาหลายปีแล้ว ฉันรู้สึกถึงแรงกระตุ้นภายในให้ค้นหาความจริง มันทำให้ฉันสะดุดใจที่หนังสือโบราณหลายเล่มรวมทั้งหนังสือเกี่ยวกับศาสนากล่าวถึงประเด็นนี้ด้วย บทความของอาจารย์หลี่ก็กล่าวถึงเรื่องนี้เช่นกัน” วูโรวาอธิบาย
เธอรู้สึกว่าการที่บทความนี้เปิดให้สาธารณชนอ่านได้ บ่งบอกถึงความตื่นรู้รูปแบบหนึ่ง “ทุกคนกรองข้อมูลตามการตระหนักรู้ของตนเอง” วูโรวาพูด “จากการสังเกตของฉัน คนทั่วไปยังคงหลับใหลอยู่ แต่ฉันสัมผัสได้โดยสัญชาตญาณว่าช่วงเวลาของการตื่นรู้ของมวลชนกำลังจะมาถึง”
วูโรวาอ่าน “ทำไมมนุษยชาติเป็นสังคมแห่งวังวน” 2 รอบ และ “รู้สึกเหมือนได้รับการยืนยันเพิ่มเติมว่ามีสิ่งที่เปรียบเหมือน ‘ม่าน' ที่ปิดบังจิตสำนึกของคนกำลังจะถูกเปิดออก” บทความนี้ทำให้เธอมี “จิตใจที่สงบสุขและบ่งบอกว่าสิ่งต่าง ๆ กำลังเกิดขึ้นในทางที่ถูกต้องตามที่จักรวาลกำหนดไว้”
จากบทความของท่านอาจารย์หลี่ วูโรวาพูดว่าเธอเข้าใจว่า "พลังงาน" ของจักรวาลอยู่ในสภาพไร้ระเบียบและจำเป็นต้องปรับสมดุลใหม่ เธอเชื่อว่าท่านอาจารย์หลี่พูดถึงการปรับใหม่ซึ่งจะทำให้ทุกสิ่งกลับมาถูกต้อง
ชายจากอาร์เจนตินา : “เราต้องรักษาความดีต่อไป”
เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งที่ฝึกฝ่าหลุนต้าฝ่าบอกกับจอร์จ อชูคาร์โร จากอาร์เจนตินาเกี่ยวกับบทความนี้ ความประทับใจแรกของเขาหลังจากได้อ่านก็คือการกลับชาติมาเกิดมีอยู่จริง เขาบอกว่าเขารู้สึกผ่อนคลายและสงบหลังจากอ่าน และบทความนี้เป็นแรงบันดาลใจให้เขา “...มีสติ สงบ และช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป
“เราควรช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ควรรักษาความดีและมีความกตัญญูด้วย ท่ามกลางความทุกข์ เราจึงสามารถบำเพ็ญ และมีเพียงความทุกข์เท่านั้นที่สามารถกำจัดกรรมและบาปของเราได้” อชูคาร์โรพูด เขาพูดเสริมว่าบทความนี้ช่วยให้เขาตระหนักถึงจักรวาลและมนุษยชาติมากขึ้น
อชูคาร์โรบอกว่าตอนนี้เขาอ่านบทความของท่านอาจารย์หลี่ 3 รอบแล้ว และรู้สึกว่าคำสอนในบทความสอดคล้องกับความเข้าใจของเขาเกี่ยวกับโลกในปัจจุบันของเรา “ผมคิดว่าเราต้องเปลี่ยนแปลง ผมยังรู้สึกว่าเราอยู่ในช่วงสุดท้ายที่ไม่มีใครเคารพใคร และจะทำทุกอย่างเพื่อทำร้ายทั้งโลกและคนอื่น ผมจะแนะนำบทความนี้ให้คนอื่นด้วย เพราะผมต้องการให้พวกเขาตระหนักว่าต้องดูแลและเคารพโลกและชีวิตมนุษย์” เขาพูด
ข้อคิดเห็นในบทความนี้เป็นความคิดเห็นหรือความเข้าใจของผู้เขียนเอง เนื้อหาทั้งหมดที่เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้เป็นลิขสิทธิ์ของ Minghui.org หมิงฮุ่ยจะผลิตฉบับรวมเล่มของเนื้อหาออนไลน์เป็นประจำรวมทั้งในโอกาสพิเศษด้วย
หมวดหมู่: มุมมอง