(Minghui.org) นับตั้งแต่พรรคคอมมิวนิสต์จีนเริ่มประทุษร้ายฝ่าหลุนกงในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1999 ผู้ฝึกหลายคนถูกกักขัง ทรมาน กระทั่งถูกสังหารเพราะความเชื่อของพวกเขา แต่กระบวนการฟ้องร้อง ดําเนินคดี และจำคุกผู้ฝึกฝ่าหลุนกงทั้งหมดไม่มีกฎหมายใดรองรับ
นี่เป็นเพราะผู้ฝึกฝ่าหลุนกงไม่ได้ละเมิดกฎหมายของจีน เสรีภาพในการเชื่อและเสรีภาพในการพูดเป็นสิทธิที่รัฐธรรมนูญจีนกําหนดไว้ ผู้ฝึกมีสิทธิที่จะบอกผู้อื่นเกี่ยวกับฝ่าหลุนกง แต่ความพยายามของพวกเขาในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการประทุษร้ายถูกพรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้เป็น "หลักฐาน" ในการจัดฉากใส่ร้ายพวกเขา
นี่เป็นความอยุติธรรมและโศกนาฏกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อน
พรรคคอมมิวนิสต์จีนละเมิดรัฐธรรมนูญของประเทศจีน
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายพื้นฐานของรัฐ เสรีภาพในความเชื่อ การพูด การพิมพ์เผยแพร่ การสมาคม และสิทธิอื่น ๆ ที่รัฐธรรมนูญของประเทศจีนมอบให้แก่พลเมืองนั้นศักดิ์สิทธิ์และไม่สามารถละเมิดได้
มาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญจีนระบุว่า "พลเมืองของสาธารณรัฐประชาชนจีนจะได้รับเสรีภาพในการพูด สื่อมวลชน การชุมนุม การสมาคม ขบวนแห่ และการประท้วง"
มาตรา 36 ของรัฐธรรมนูญระบุว่า "พลเมืองของสาธารณรัฐประชาชนจีนจะได้รับเสรีภาพในการนับถือศาสนา ไม่มีหน่วยงานของรัฐ องค์กรทางสังคม หรือบุคคลใดที่จะบีบบังคับพลเมืองให้เชื่อหรือไม่เชื่อในศาสนาใด ๆ และพวกเขาจะไม่เลือกปฏิบัติต่อพลเมืองที่เชื่อหรือไม่เชื่อในศาสนาใด ๆ "
มาตรา 98 ของกฎหมายจีนระบุว่า "รัฐธรรมนูญมีอํานาจสูงสุด ไม่มีกฎหมาย ข้อบังคับทางการปกครอง ข้อบังคับท้องถิ่น ข้อบังคับอิสระ ข้อบังคับแยกต่างหาก หรือกฎใดที่อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ"
การฝึกฝ่าหลุนกงและการผลิตวัสดุที่เกี่ยวข้องถูกต้องตามกฎหมาย
เนื่องจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนปราบปรามฝ่าหลุนกงมานานกว่า 25 ปี คนจำนวนมากจึงคิดว่ามีกฎหมายรองรับการกระทําของรัฐบาลจีน ความจริงก็คือพรรคคอมมิวนิสต์จีนอ้างว่าฝ่าหลุนกงผิดกฎหมายโดยไม่มีเหตุผลทางกฎหมายใด ๆ
หลายเดือนหลังจากเริ่มการประทุษร้าย เจียง เจ๋อหมิน ซึ่งเป็นอดีตผู้นําพรรคคอมมิวนิสต์จีน ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ Le Figaro ของฝรั่งเศสในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1999 ในการสัมภาษณ์ เจียงอ้างถึงฝ่าหลุนกงว่าเป็น "ลัทธิ" วันรุ่งขึ้นหนังสือพิมพ์ People’s Daily ซึ่งเป็นสื่ออย่างเป็นทางการของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้พิมพ์เผยแพร่บทบรรณาธิการที่ย้ําการใส่ร้ายของเจียง อย่างไรก็ตาม เจียงไม่มีอํานาจในการประกาศดังกล่าว มาตรา 80 และ 81 ของรัฐธรรมนูญจีนกําหนดอํานาจของประธานาธิบดีแห่งรัฐไว้ว่า กิจกรรมของประธานาธิบดีที่อยู่ภายในขอบเขตอํานาจของเขาเป็นตัวแทนของรัฐ ในขณะที่กิจกรรมที่อยู่นอกขอบเขตอํานาจของเขาเป็นพฤติกรรมส่วนบุคคลและไม่ได้เป็นตัวแทนของรัฐ ในการให้สัมภาษณ์ เจียงเพียงแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของเขาและไม่ได้เป็นตัวแทนของรัฐ
ไม่นานหลังจากเหตุการณ์นี้ สํานักงานทั่วไปของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน สํานักงานทั่วไปของสภาแห่งรัฐ และกระทรวงพิทักษ์สันติราษฎร์ได้ออกประกาศร่วมกันเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 2000 ในหัวข้อ "ประกาศของกระทรวงพิทักษ์สันติราษฎร์เกี่ยวกับประเด็นปางประการในการระบุและปราบปรามองค์กรลัทธิ" ประกาศนี้ระบุรายชื่อขององค์กรลัทธิ 14 แห่งซึ่งไม่รวมฝ่าหลุนกงอยู่ในนั้น
15 ปีต่อมา ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014 Legal Evening News ได้ย้ําประกาศดังกล่าวต่อสาธารณชนและยืนยันการกําหนดองค์กร 14 แห่งเดียวกันว่าเป็นลัทธิ สิ่งนี้แสดงให้เห็นเพิ่มเติมว่าการประทุษร้ายฝ่าหลุนกงนั้นผิดกฎหมาย
นอกจากนี้ หลิว ปินเจี๋ย ผู้อํานวยการฝ่ายบริหารทั่วไปของสื่อมวลชนและสิ่งพิมพ์ของจีนได้ออกคําสั่งฉบับที่ 50 ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2011 "การตัดสินใจของฝ่ายบริหารทั่วไปของสื่อมวลชนและสิ่งพิมพ์เพื่อยกเลิกเอกสารเชิงบรรทัดฐานชุดที่ 5" รายการที่ 99 และ 100 ของการตัดสินใจได้ยกเลิกเอกสารสองฉบับต่อไปนี้ที่ออกในปี 1999 อย่างชัดเจน : (1) ประกาศว่าด้วยการยืนยันความคิดเห็นอีกครั้งเกี่ยวกับการจัดการสิ่งพิมพ์ฝ่าหลุนกง และ (2) ประกาศว่าด้วยการห้ามพิมพ์สิ่งพิมพ์ฝ่าหลุนกงที่ผิดกฎหมาย
สภาแห่งรัฐประกาศคําสั่งนี้และเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาฉบับที่ 28 ในปี 2011 การยกเลิกเอกสารทั้งสองนี้แสดงให้เห็นว่าหนังสือฝ่าหลุนกงถูกกฎหมายในประเทศจีน
พรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้กฎหมายในทางที่ผิดเพื่อประทุษร้ายฝ่าหลุนกง
ตามรายงานของหมิงฮุ่ย เจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนมักอ้างถึงมาตรา 300 ของกฎหมายอาญาในการดําเนินคดีฝ่าหลุนก ง แต่นี่เป็นสิ่งที่ผิด
มาตรา 300 กําหนดเงื่อนไขเบื้องต้นสองประการที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ เงื่อนไขแรกคือผู้ถูกกล่าวหาต้องใช้องค์กรลัทธิ และอีกเงื่อนไขหนึ่งคือผู้ถูกกล่าวหาต้องบ่อนทําลายการบังคับใช้กฎหมาย เงื่อนไขแรกไม่เป็นจริง เนื่องจากฝ่าหลุนกงไม่ใช่องค์กรลัทธิดังที่กล่าวไว้ข้างต้น สําหรับเงื่อนไขที่สอง เจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่สามารถให้หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าผู้ฝึกฝ่าหลุนกงได้บ่อนทําลายการบังคับใช้กฎหมายหรือทําอันตรายต่อสังคม
ในความเป็นจริง พลเมืองทั่วไปไม่มีความสามารถในการก่ออาชญากรรมดังกล่าว มีเพียงเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้นที่สามารถทําได้ ตัวอย่างเช่น การใช้อํานาจในทางที่ผิดเพื่ออยู่เหนือกฎหมาย แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม หรือบ่อนทําลายความเป็นอิสระและความยุติธรรมของตุลาการ เมื่อสํานักงาน 610 ซึ่งเป็นหน่วยงานนอกกฎหมาย ควบคุมตํารวจ อัยการ และหน่วยงานตุลาการ เพื่อประทุษร้ายผู้ฝึกฝ่าหลุนกง นั่นคือการบ่อนทําลายการบังคับใช้กฎหมายจริง ๆ และเป็นอาชญากรรม
เจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนมักตัดสินลงโทษผู้ฝึกในข้อหาครอบครองหรือแจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับฝ่าหลุนกง เนื่องจากการเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับฝ่าหลุนกงนั้นถูกต้องตามกฎหมายดังที่กล่าวไว้ข้างต้น กิจกรรมของผู้ฝึกฝ่าหลุนกงจึงถูกต้องตามกฎหมายเช่นกัน
โดยสรุป การปฏิบัติต่อผู้ฝึกฝ่าหลุนกงอย่างไม่เป็นธรรมตามอำเภอใจถือเป็นการละเมิดหลักการของ nulla poena sine lege ("ไม่มีการลงโทษถ้าไม่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมาย")
ปัญหาเกี่ยวกับการตีความทางตุลาการโดยศาลประชาชนสูงสุดและอัยการ
ในการปฏิบัติกับผู้ฝึกฝ่าหลุนกงอย่างไม่เป็นธรรม เจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนมักอ้างอิงการตีความทางตุลาการโดยศาลประชาชนสูงสุดและอัยการประชาชนสูงสุด นี่ไม่ถูกต้องเพราะการตีความทางตุลาการของมาตรา 300 โดยหน่วยงานเหล่านี้มีปัญหาทางกฎหมาย ดังนี้
มาตรา 11 ของกฎหมายกําหนดว่า
"เรื่องต่อไปนี้จะอยู่ภายใต้กฎหมายเท่านั้น :
...
(4) อาชญากรรมและการลงโทษของพวกเขา;
(5) มาตรการบังคับและบทลงโทษที่เกี่ยวข้องกับการลิดรอนสิทธิทางการเมืองของพลเมืองและการจํากัดเสรีภาพส่วนบุคคล"
นอกจากนี้ ศาลประชาชนสูงสุดและอัยการประชาชนสูงสุดไม่ใช่หน่วยงานนิติบัญญัติ พวกเขาไม่มีอํานาจในการกําหนดว่าพฤติกรรมใดผิดกฎหมายและเป็นอาชญากรรม มาตรา 48 ของกฎหมายระบุว่า "อํานาจในการตีความกฎหมายเป็นของคณะกรรมการประจำสภาประชาชนแห่งชาติ"
อย่างไรก็ตาม ศาลฎีกาและอัยการได้ออกการตีความทางตุลาการโดยระบุว่าพฤติกรรมและข้อบ่งชี้บางอย่างสามารถถูกดําเนินคดีได้ภายใต้มาตรา 300 การตีความนี้ไม่ถูกต้องเนื่องจากเป็นการละเมิดวัตถุประสงค์ทางกฎหมายและเจตนารมณ์ดั้งเดิมของมาตรา 300 ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้เป็นพื้นฐานในการตัดสินคดีได้
การคัดค้านจากภายในรัฐบาลและวิชาชีพกฎหมาย
เนื่องจากการประทุษร้ายฝ่าหลุนกงของเจียงเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญและขัดต่อสามัญสํานึก จึงถูกต่อต้านอย่างรุนแรงภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่จริงสมาชิก 6 ใน 7 คนของคณะกรรมการกลางประจำกรมการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์ในขณะนั้นไม่เห็นด้วยกับการปราบปราม นายกรัฐมนตรีจู หรงจี กล่าวในการประชุมคณะกรรมการประจำว่ารัฐบาลไม่ควรแทรกแซงสิทธิของผู้ฝึกฝ่าหลุนกงในการปฏิบัติตามความเชื่อของพวกเขาและเป็นสิ่งที่ดีต่อประเทศ
เฉียว สือ อดีตประธานสภาประชาชนแห่งชาติ คัดค้านการประทุษร้ายฝ่าหลุนกงของเจียงมาโดยตลอด ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในเดือนมิถุนายน 2015 เขากล่าวว่าเขาอาจไม่เห็นวันที่ความอยุติธรรมจะได้รับการแก้ไข แต่เขายืนยันคําแถลงของเขาในปี 1998 ว่า "ฝ่าหลุนกงเป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชน และไม่ก่อให้เกิดอันตราย" เขายังขอให้เจียงไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมงานศพของเขาด้วย
อดีตนายกรัฐมนตรีเหวิน เจียเป่า เสนอให้แก้ปัญหานี้หลายครั้งในระหว่างที่เขาดํารงตําแหน่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคณะกรรมการกรมการเมืองกลางจัดการประชุมคณะกรรมการประจําในปี 2012 เพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดการปัญหา ป๋อ ซีไหล เหวินเสนอให้แก้ไขปัญหาฝ่าหลุนกงอีกครั้งโดยใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ของป๋อ ซีไหล แต่ข้อเสนอนี้ถูกคัดค้านอย่างรุนแรงจากเจ้าหน้าที่อาวุโสของพรรคคอมมิวนิสต์จีน โจว หย่งคัง
นอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่กลุ่มหนึ่งในระดับจังหวัดและระดับรัฐมนตรีที่ต่อต้านการประทุษร้ายฝ่าหลุนกง เช่น เฉิน ฮ่วนโหย่ว อดีตเลขาธิการพรรคมณฑลเจียงซู นี่แสดงให้เห็นว่ามีเสียงในหมู่ผู้นําระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่คัดค้านการประทุษร้ายและเรียกร้องให้แก้ไขความอยุติธรรม
นับตั้งแต่การประทุษร้ายฝ่าหลุนกงเริ่มขึ้น นักวิชาการและอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายคนในวิชาชีพกฎหมายของจีนได้ประณามการกระทำที่ผิดกฎหมายนี้ บางคนปรากฏตัวในศาลเพื่อปกป้องความบริสุทธิ์ของผู้ฝึกฝ่าหลุนกง เช่น ศาสตราจารย์เถิง เปียว ซึ่งเป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์แห่งประเทศจีน และศาสตราจารย์จาง จ้านหนิง จากคณะนิติศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยตะวันออกเฉียงใต้ หลายปีที่ผ่านมา ทนายความมากกว่า 100 คนได้ปกป้องความบริสุทธิ์ของผู้ฝึกฝ่าหลุนกงกว่า 1,000 คน
ทนายความหลายคนยืนยันในขณะที่ปกป้องผู้ฝึกว่าไม่มีผู้ที่กระทำการทุจริตหรือกระทําความผิดทางอาญาใดฝึกฝ่าหลุนกง และมาตรฐานทางศีลธรรมระดับสูงของผู้ฝึกฝ่าหลุนกงสมควรได้รับการยกย่องและเคารพนับถือ นอกจากนี้ พวกเขายังบอกว่าการใช้วิธีการทางกฎหมายเพื่อปราบปรามผู้ฝึกฝ่าหลุนกงเป็นเรื่องน่าเศร้าและบุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินผู้ฝึกฝ่าหลุนกงอย่างไม่ถูกต้องสําหรับความเชื่อของตนจะต้องรับผิดชอบต่ออาชญากรรมของพวกเขา
มาตรการคว่ําบาตรระหว่างประเทศ
สหรัฐอเมริกาใช้กฎหมายความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนของแมกนิตสกีทั่วโลก (Global Magnitsky Human Rights Accountability Act) (หรือที่เรียกว่า Global Magnitsky Acr) ในปี 2016 ซึ่งกําหนดบทลงโทษผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการยืนยัน
มีการนํากฎหมายที่คล้ายคลึงกันมาใช้ในประเทศอื่น ๆ รวมถึงแคนาดาและสหราชอาณาจักร ปัจจุบัน 28 ประเทศได้ประกาศใช้หรือกําลังเตรียมที่จะประกาศใช้กฎหมายแมกนิตสกี ซึ่งจะปฏิเสธวีซ่าให้กับผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนและอายัดทรัพย์สินในต่างประเทศของพวกเขา
ในเวลาเดียวกัน กลุ่มศาสนาในสหรัฐอเมริกา รวมถึงผู้ฝึกฝ่าหลุนกง ได้รับแจ้งว่ารัฐบาลสหรัฐฯ จะตรวจสอบการยื่นขอวีซ่าอย่างเข้มงวดมากขึ้น และปฏิเสธที่จะออกวีซ่าให้กับผู้กดขี่ข่มเหงด้านสิทธิมนุษยชนและผู้กดขี่ข่มเหงทางศาสนา รวมถึงวีซ่าถาวร (immigrant visas) และวีซ่าชั่วคราว (non-immigrant visas) (เช่น ท่องเที่ยว เยี่ยมญาติ และเดินทางเพื่อธุรกิจ) ผู้ที่ได้รับวีซ่าแล้ว (รวมถึงผู้ถือ “กรีนการ์ด”) จะถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าประเทศเช่นกัน เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ บอกกับผู้ฝึกฝ่าหลุนกงว่าพวกเขาสามารถส่งรายชื่อบุคคลที่มีส่วนร่วมในการประทุษร้ายฝ่าหลุนกง ตลอดจนสมาชิกในครอบครัวและลูก ๆ ของพวกเขา
จากการสรรเสริญที่เปล่งประกายสู่การใส่ร้ายป้ายสีที่ชั่วร้าย
พรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้กลยุทธ์เดียวกันกับการรณรงค์ทางการเมืองก่อนหน้านี้สร้างคําโกหกอย่างไม่รู้จบเพื่อพยายามพิสูจน์ให้เห็นว่าการปราบปรามฝ่าหลุนกงของตนสมเหตุสมผล หนึ่งในเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดคือการจัดฉากเผาตัวเองที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 2001 ซึ่งบุคคลที่ปลอมตัวเป็นผู้ฝึกฝ่าหลุนกงจุดไฟเผาตัวเอง ภาพการแสดงของนักแสดงแทนถูกออกอากาศอย่างต่อเนื่องในวันต่อ ๆ มา ซึ่งตรงกับวันที่ครอบครัวมารวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลองวันตรุษจีนในปีนั้น เพื่อเพิ่มผลของการปลุกระดมความเกลียดชังให้มากที่สุด
ในการประชุมสหประชาชาติเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 2011 องค์การพัฒนาการศึกษาระหว่างประเทศ (International Education Development Organization, IED) ออกแถลงการณ์ว่า "เราได้รับวิดีโอของ [การเผาตัวเอง] และสรุปว่าเหตุการณ์นี้กํากับโดยรัฐบาลนี้"
ในปี ค.ศ. 2003 ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง False Fire ได้รับรางวัลกิตติมศักดิ์จากเทศกาลภาพยนตร์และโทรทัศน์นานาชาติโคลัมบัส (Columbus International Film and Television Festival) ครั้งที่ 51 ภาพยนตร์เรื่องนี้หักล้างคํากล่าวอ้างของพรรคคอมมิวนิสต์จีนทุกประเด็นว่าการเผาตัวเองเกี่ยวข้องกับผู้ฝึกฝ่าหลุนกง
การโฆษณาชวนเชื่อที่น่ารังเกียจของพรรคคอมมิวนิสต์จีนตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับการศึกษาและการรายงานข่าวก่อนที่การประทุษร้ายจะเริ่มขึ้น ในช่วงทศวรรษ 1990 หนังสือพิมพ์และสถานีโทรทัศน์และวิทยุของจีนหลายแห่งรายงานในเชิงบวกเกี่ยวกับฝ่าหลุนกง โดยยกย่องผลที่โดดเด่นในการยกระดับศีลธรรมและเสริมสร้างสุขภาพของผู้ฝึก
ในปี ค.ศ. 1998 ฝ่ายบริหารการกีฬาของรัฐ (State Sports General Administration) ได้จัดให้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จากปักกิ่ง อู่ฮั่น ต้าเหลียน และมณฑลกวางตุ้ง ทําการสํารวจทางการแพทย์ 5 ครั้งกับผู้ฝึกฝ่าหลุนกงเกือบ 35,000 คน การสํารวจนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการฝึกฝ่าหลุนกงในการรักษาโรคและฟื้นฟูสุขภาพได้ถึง 98%
ในช่วงครึ่งหลังของปี ค.ศ. 1998 ประธานสภาประชาชนแห่งชาติ เฉียว สือ ได้จัดตั้งกลุ่มเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่อดําเนินการสอบสวนฝ่าหลุนกงในเชิงลึกเป็นเวลาหลายเดือน กลุ่มนี้สรุปว่าฝ่าหลุนกงเป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชน และไม่เป็นอันตรายกับใคร การศึกษานี้น่าจะมีส่วนทําให้เฉียวสนับสนุนฝ่าหลุนกงอย่างต่อเนื่องแม้ว่าการประทุษร้ายจะเริ่มขึ้นแล้วก็ตาม
ในช่วงสามทศวรรษนับตั้งแต่ฝ่าหลุนกงเริ่มเผยแพร่สู่สาธารณชน ผู้ฝึกก็มีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ และได้ขยายไปยังประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ มากกว่า 100 แห่งทั่วโลก ผู้ฝึกนับไม่ถ้วนพูดถึงหลักการของฝ่าหลุนกงซึ่งก็คือความจริง-ความเมตตา-ความอดทนว่าเป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขาเป็นคนที่ดีขึ้นได้อย่างไร แต่การโฆษณาชวนเชื่อของพรรคคอมมิวนิสต์จีนกลับส่งเสริมความเกลียดชังในประเทศจีนและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ยิ่งการประทุษร้ายสิ้นสุดลงเร็วเท่าใด ความอยุติธรรมที่ร้ายแรงก็จะได้รับการแก้ไขได้เร็วขึ้นเท่านั้น ผู้คนก็จะได้รับประโยชน์จากฝ่าหลุนกงมากขึ้นเท่านั้น และอนาคตของโลกก็จะยิ่งสดใสขึ้นเท่านั้น
ลิขสิทธิ์ © 2024 Minghui.org สงวนลิขสิทธิ์
หมวดหมู่: อภิปรายข่าว